มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่การเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นอีกสถาบันการศึกษาหนึ่งที่คำนึงถึงสภาพสิ่งแวดล้อมในการอยู่อาศัยของนิสิตและ บุคลากร โดยการบริหารจัดการให้พื้นที่กว่า 1,300 ไร่ แห่งนี้มุ่งหน้าสู่ความเป็น Green University หรือ มหาวิทยาลัยสีเขียว เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันแห่งนี้ให้อยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในฐานะผู้วางนโยบายที่จะผลักดันให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว เปิดเผยว่า เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีแล้ว ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้กำหนดนโยบาย วางเป้าหมายการดำเนินการของมหาวิทยาลัยอย่างชัดเจน ในการมุ่งสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) โดยเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมาโดยมีหลักการ 5 ประการ คือ
แผนทั้งหมดนี้ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นโครงการต่างๆ เช่น โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว โดยการปลูกหญ้า ปลูกต้นไม้ ระบบพาหนะเดินทางในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก็ได้นำรถรางประหยัดพลังงานมาบริการบุคลากรและนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นอกจากนี้ยังมีโครงการที่สร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวและสร้างรายได้พิเศษให้กับนิสิต เจ้าหน้าที่ และประชาชนรอบมหาวิทยาลัย คือ โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ที่ทางมหาวิทยาลัยรับซื้อนำขยะแห้ง อาทิ กระดาษ พลาสติก ขวดแก้ว เพื่อปลูกฝังการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง โครงการผลิตปุ๋ยชีวภาพจากเศษกิ่งไม้ในมหาวิทยาลัย นำปุ๋ยที่ได้ไปใช้บำรุงรักษาต้นไม้ในมหาวิทยาลัย โครงการแปลงผักปลอดสารพิษ โดยการเปลี่ยนพื้นที่ว่างเป็นแปลงผักสวนครัว และนำผลผลิตมาขายในราคารย่อมเยา ส่วนนิสิตก็มีพื้นที่การเรียนรู้เกษตรกรรม
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ไม่เฉพาะนิสิต แต่รวมถึงบุคลากรทุกฝ่ายและประชาชนในชุมชนใกล้เคียงด้วย ในระยะแรกอาจจะมีกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการทุ่มใช้งบประมาณในด้านการพัฒนาในส่วนของระบบกายภาพของมหาวิทยาลัย แต่พอได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ก็จะเริ่มรู้สึกว่าทุกคนได้มีส่วนร่วม ทำให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่น่าอยู่ และสามารถรองรับเป็นแหล่งท่องเที่ยว พักผ่อนหย่อนใจ ต้อนรับพี่น้องที่มาเยี่ยมเยียนบุตรหลาน ได้ในหลายๆ มุมของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกด้วย
นี่ไม่ได้เป็นเพียงต้นแบบการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่มีเป้าหมายในระยะยาวที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านอื่น ๆ ไปด้วย คือ สะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยกับกับสังคมรอบข้าง สร้าง จิตสำนึกสาธารณะ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันระหว่างคนในมหาวิทยาลัย
สำหรับการก้าวสู่ Green University เราได้ร่วมภาคภูมิใจด้วยกันสำหรับการได้รับการจัดอันดับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว อันดับที่ 4 ของประเทศ และอันดับที่ 126 ของโลก จากการจัดอันดับของ UI GreenMetric World University Ranking 2011 เป็นการจัดอันดับการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวของมหาวิทยาลัยทั่วโลกที่เข้าร่วม