มมส กับผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัย Webometrics Ranking 2017 (ข้อมูล ณ 2 กุมภาพันธ์ 2560)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้รับการจัดอันดับ Webometrics Ranking of World Universities ครั้งที่ 1 ประจำปี 2560 (Edit January 2017) ในปีนี้ได้รับการจัดอันดับเป็น อันดับที่ 1,613 ของโลก, อันดับที่ 457 ของเอเชีย, อันดับที่ 34 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอันดับที่ 14 ของประเทศ
ในรอบนี้ Edit January 2017 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่อับดับ 1,613 ของโลก ร่วมกับ Utah Valley University ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการปรับเกณฑ์การให้คะแนนเป็นระยะ ผลคะแนนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีดังนี้ 1. จำนวนเว็บเพจ (Presence) 207 คะแนน 2. จำนวนแฟ้มเอกสารอิเล็กทรอนิคส์ต่างๆ (Openness) 2,904 คะแนน 3. จำนวน external links ที่ได้รับ (Impact) 1,906 คะแนน 4. จำนวนบทความวิชาการ (Excellence) 2,217 คะแนน จากผลการจัดอันดับนี้ แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางวิชาการจากทุก ๆ คณะ ภาควิชา สาขาวิชา หน่วยงาน และนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ เผยแพร่สู่เวทีโลก ในวารสารที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับ
จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกในครั้งนี้ ได้แก่ Harvard University อันดับ 1 ของโลก ครองแชมป์, University of Tokyo (東京大学) อันดับ 1 ของเอเชีย อันดับ 48 ของโลก, National University of Singapore อันดับ 1 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันดับ 57 ของโลก และมหาวิทยาลัยมหิดล อันดับ 1 ของประเทศ อันดับ 433 ของโลก สถาบันอุดมศึกษาทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 24,000 แห่ง และในประเทศไทย จำนวน 179 มหาวิทยาลัยไทย
นับว่าเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยให้ได้รับการยอมรับและพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยในระดับสากล การจัดอันดับมหาวิทยาลัย (University Ranking) นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถนำเสนอภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยในหลายมุมองให้ชาวโลกได้รับรู้ องค์กร The Consejo Superior de Investigaciones Científicas (CSIC) คือ องค์กรหนึ่งที่จัดอันดับมหาวิทยาลัย โดยพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์มหาวิทยาลัยทั่วโลก ภายใต้ชื่อ Webometrics Ranking of World Universities หรือ Ranking Web of World Universities จัดทำโดย Cybermetrics Lab หรือ Internet Lab ซึ่งเป็นกลุ่มวิจัยในสังกัด The Centre for Scientific Information and Documentation (CINDOC) สภาวิจัยแห่งชาติ (Spanish National Research Council - CSIC) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2004 มีเว็บไซต์อยู่ที่ http://www.webometrics.info/ นักวิจัยที่มีบทบาทสำคัญ คือ Isidro F. Aguillo
การจัดลำดับโดย Webometrics เกิดจากความเชื่อที่ว่า Web จะเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก และในที่สุด Open Acess Initiatives ซึ่งเป็น web publications หรือ electronic publications จะมีผลกระทบและมีการเข้าถึงได้มากกว่าสิ่งตีพิมพ์ (Publications) ชนิดใดๆ ดังนั้น Webometrics จึงเป็นการวัดปริมาณเนื้อหาที่สร้างขึ้น เน้นการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการผ่านทางเว็บไซต์ การปรากฏตัวบนอินเตอร์เน็ต และดูจำนวน Link จากเว็บไซต์ภายนอกทั่วโลกที่ทำ Link มายังเว็บเพจ หรือวัดผลกระทบการอ้างอิง ตามจำนวนของ link ที่ได้รับจากภายนอก (external inlinks / sitations หรือ site citations) ซึ่งจะแสดงถึง visibility และ impact ของ web publications นั้นๆ จากกนั้นทำการจัดลำดับ โดยใช้ดัชนี Web Impact Factor (WIF) ซึ่งใช้หลักการที่ดัดแปลงและประยุกต์มาจาก Journal Impact Factor (JIF) ของฐานข้อมูล Thomson's ISI Journal Citation Reports (JCR)
การประกาศผลจัดอันดับจะทำทุกวันที่ 1-20 เดือนมกราคม และเดือนกรกฎาคมของทุกปี มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 โดยไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะจัดอันดับคุณภาพของสถาบันการศึกษาแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงดัชนีชี้วัดความสามารถในการผลิต Web Publications และความเป็น Open Access ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ซึ่งเป็นการวัดผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต นอกเหนือจากการวัดด้วยดัชนีการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและการอ้างอิงผลงานวิจัย แบบที่เรารู้จักกันดี ที่เรียกว่า Bibliometric Indicators เท่านั้น หรือ มองอีกแง่หนึ่ง ก็คือ วัดความสามารถในการเป็น "มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (E-University)"
แหล่งข้อมูล : http://www.webometrics.info/
ภาพ/ข่าว : สุพรรณี นัดสันเทียะ