มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคของประเทศไทย ที่ได้พัฒนาการเรียนการสอนมากว่า 44 ปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหาสารคามได้ผลิตบัณฑิตคุณภาพ พัฒนางานวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และพัฒนาระบบบริหารมหาวิทยาลัยมาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีความเป็นเลิศทางวิชาการ ซึ่งได้กำหนดเป้าหมายของคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัย ทั้งในระดับประเทศและระดับโลก เพื่อนำมหาวิทยาลัยมหาสารคามก้าวสู่การเป็น World Class University ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สมัปปิโต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดเผยว่า จากการประกาศผลการจัดอันดับ QS Asian University Rankings 2011 ในสาขา Arts and Humanities (ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ปรากฏว่า มหาวิทยาลัยมหาสารคามติดอันดับที่ 9 ของประเทศไทย และ อันดับที่ 168 ของภูมิภาคเอเชีย นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยที่มีอันดับที่ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา โดยการจัดอันดับ QS Asian Universities Ranking 2011 ได้แบ่งสาขาต่างๆ ออกเป็น 5 สาขา ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มี 4 สาขา ที่ได้รับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย ได้แก่ 1. สาขา IT & Engineering (ไอทีและวิศวกรรมศาสตร์) ติดอันดับ 10 จากมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ 16 แห่ง 2. สาขา Art & Humanities (ศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์) ติดอันดับ 9 จาก 12 แห่ง 3. สาขา Social Sciences & Management(สังคมศาสตร์และการบริหารจัดการ) ติดอันดับ 11 จาก 12 แห่ง 4. สาขา Life Sciences & Medicine (วิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์) ติดอันดับ 10 จาก 14 แห่งในการจัดอันดับ QS Asian University Rankings 2011 มีเกณฑ์ค่าน้ำหนักในการพิจารณาให้คะแนนจาก 4 หลักเกณฑ์ คือ - คุณภาพงานวิจัย ประเมินโดยผู้ร่วมวิชาชีพ (Peer Review) ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการ นักวิจัยทั่วทั้งเอเชีย ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 30 + สัดส่วนจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ต่ออาจารย์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 15 + สัดส่วนการอ้างอิงต่อผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 15 (Research Quality Asian Academic Peer Review 30% + Papers per Faculty 15% + Citations per Paper 15%) - คุณภาพการสอน ประเมินจากสัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่ออาจารย์ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 20 (Teaching Quality - Student Faculty Ratio 20%) - คุณภาพบัณฑิตที่ได้งาน ได้รับการประเมินจากผู้จ้างงานในเอเชีย ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 10(Graduate Employability - Asian Employer Review 10%) - ความเป็นนานาชาติ ประเมินจากสัดส่วนจำนวนอาจารย์ชาวต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + สัดส่วนจำนวนนักศึกษาต่างชาติ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 + จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนไปยังต่างประเทศ ค่าน้ำหนักประเมินร้อยละ 2.5 (International - International Faculty 2.5% + International Students 2.5% + Inbound Exchange Students 2.5% + Outbound Exchange Students 2.5%) การพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคามจะยังคงมุ่งมั่นเพื่อก้าวหน้าต่อไป ให้เป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตบัณฑิตคุณภาพ ที่เป็นคนดี มีความรู้ความสามารถ ออกไปรับใช้สังคมร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศชาติอย่างยั่งยืน และพร้อมก้าวสู่ความเป็น World Class University ต่อไปภาพ : ธนภร ปฐมวณิชกุลข่าว : บุณฑริกา ภูผาหลวง